RDF คืออะไร แล้วมีอยู่กี่แบบบ้าง มาดูกัน 


RDF คือ

ขยะไม่ใช่สิ่งที่ใช้แล้วทิ้งเสมอไป แต่ยังสามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด เนื่องจากขยะเป็นเชื้อเพลิงอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ ในกรณีที่เผาไหม้ได้เท่านั้น โดยจะใส่ลงเตาเปลี่ยนพลังงาน ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็นำมาใช้ได้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านั้น ยังนำกระบวนทางชีวเคมีหรือจักรกลเคมีมาผลิตให้ได้เชื้อเพลิงที่ต้องการอีกด้วย บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ RDF คืออะไร เป็นเชื้อเพลิงขยะแบบไหน 

RDF คืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง 

ขยะเชื้อเพลิงที่เรียกว่า RDF คือเศษอะไรก็ตามหรือสิ่งของไม่ใช้แล้วและสามารถเผาได้นำมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงแต่ละรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแท่ง อัดเม็ด ผง โดยใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาด้วยเมื่อตัดสินใจนำขยะใดก็ตามมาเผา ตัวอย่างเช่น โลหะ เศษแก้ว ขยะเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยลดปริมาณของขี้เถ้าและเพิ่มค่าความร้อนเชื้อเพลิง  

สิ่งสำคัญในการผลิต RDF อยู่ที่กระบวนการแยกแยะชนิดและลดขนาดของวัสดุ แล้วสกัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถแปรรูปกลายเป็นก๊าซเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิงเหลวได้อีกด้วย เช่น มีเทน แอลกอฮอล์ น้ำมันไพโรลิติก การดำเนินการสกัดขยะให้เป็นเชื้อเพลิงจะต้องกระทำผ่านผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากมีวิธีค่อนข้างยุ่งยากและต้องมีความเข้าใจในเรื่องการเผาไหม้ขยะด้วยกรรมวิธีที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นเชื้อเพลิงที่ทำประโยชน์ได้สูงสุดด้วย 

แยกประเภท RDF ได้อย่างไรบ้าง 

สำหรับประเภทของ RDF จะมีการแยกไปตามกระบวนการผลิตที่ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ชีวเคมี เคมี หรือเครื่องจักรกล อย่างที่หลายคนทราบว่า RDF คือการนำชีวเคมีและเคมีมาผลิต แต่ก็กำลังพัฒนาจึงทำให้ต้องผลิตด้วยเครื่องจักรกล ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 5 ชนิด ได้แก่ 

  • RDF อย่างหยาบ (Coarse RDF) เป็นขยะที่น้ำหนักเบา ย่อยให้น้อยลงจนมีขนาดโตสุดคือ 100 มิลลิเมตร-150 มิลลิเมตร ด้วยเครื่องเป่าอากาศแยกส่วน แยกขยะที่น้ำหนักมากออก 
  • RDF อย่างละเอียด (Fluff RDF) ผลิตจาก Coarse RDF ผ่านการลดขนาดและแยกส่วน จนมีขนาดมากสุดอยู่ที่ 20 มิลลิเมตร-25 มิลลิเมตร  
  • RDF แบบผงฝุ่น (Dust RDF) เป็นการเอา Fluff RDF เติมกับสารเคมีเพื่อให้มีความแห้งและเปราะ แล้วบดจนกลายเป็นผง มีขนาดคล้ายถ่านหินที่บดเป็นผง  
  • RDF แบบอัดเม็ด (Densified RDF) ผลิตโดยการนำ Fluff RDF มาอัดแน่นด้วยเครื่องแบบกระแทกหรือแบบเกลียว สิ่งที่ได้คือเม็ดแป้นกลมหรือก้อนแบบอิฐ  
  • RDF แบบเยื่อเปียก (Wet pulped RDF) เป็นการนำน้ำกับขยะมากวนกันจนได้น้ำคร่ำ ส่วนที่น้ำหนักเยอะจะเก็บตรงก้นถัง และส่วนของน้ำคร่ำจะผ่านไป Cyclone แยกเอาขยะที่หนักมากออก เส้นใยที่เป็นสารแขวนลอยถูกสกัดด้วยเครื่องกดจนกลายเป็น Wet pulped RDF 

จะเห็นว่า RDF คือเชื้อเพลิงขนะที่นำเอาขยะประเภทต่าง ๆ ซึ่งสามารถเผาไหม้ได้มาผ่านกระบวนการสกัดให้ได้เชื้อเพลิงที่ต้องการนำมาใช้งาน โดยแบ่งขั้นตอนการผลิตได้ทั้งหมด 7 แบบด้วยกัน ลักษณะที่ได้ก็จะต่างกันออกไป เมื่อผลิตผ่านเครื่องจักรประสิทธิภาพสูง ผลิตภัณฑ์ย่อมคุณภาพสูงตามไปด้วย แล้วที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นความรู้แบบคร่าว ๆ เกี่ยวกับการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะในแต่ละแบบ